รักแร้เหม็น มีกลิ่นตัวแรง แก้ปัญหาและรักษาอย่างไรให้ถูกจุด

รักแร้เหม็นรักษาอย่างไร

รักแร้เหม็น มีกลิ่นเต่าแรงปัญหาใหญ่กวนใจที่ทำให้หลายคนกังวล สูญเสียความมั่นใจ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง มีผลต่อบุคลิกภาพและความสัมพันธ์ ใครที่มีปัญหานี้และต้องการแก้ไขควรทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นตอของรักแร้เหม็น มีสาเหตุเกิดจากอะไร? และหาแนวทางป้องกันเพื่อดูแลและเลือกวิธีรักษากลิ่นรักแร้ที่ส่งกลิ่นเหม็นได้อย่างเห็นผล แก้ตรงจุดที่สุด

รักแร้เหม็น มีกลิ่น เกิดจากอะไร?

ปัญหารักแร้มีกลิ่นนั้นเกิดขึ้นจากต่อมกลิ่น (apocrine gland) ในร่างกายที่มีหน้าที่ในการสร้างสารออกมาในรูปลักษณะเหลวข้น ซึ่งพอสารดังกล่าวถูกหลั่งออกมาเจอกับเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังเลยทำให้เกิดเป็นกลิ่นตัวขึ้นมานั่นเอง นอกจากนั้นปัญหากลิ่นตัวยังสามารถเกิดขึ้นมาจากต่อมเหงื่ออะโพไครน์ (Apocrine) ที่เป็นต่อมขนาดใหญ่อยู่ใต้ผิวหนัง โดยต่อมเหงือชนิดนี้จะทำงานเมื่อถูกการกระตุ้นจากการออกกำลังกาย ความเครียดหรือความแปรปรวนทางด้านอารมณ์เป็นต้น

ลักษณะของต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้

ต่อมเหงื่อในร่างกาย ( Physiology of sweat gland ) มี 2 แบบ ซึ่งทำงานแตกต่างกัน คือ ต่อมเอ็คไคลน์ และต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์ ซึ่งร่างกายของแต่ละคนสั่งการทำงานของต่อมเหงื่อแตกต่างกัน ส่งผลต่อปริมาณในการผลิตเหงื่อและการมีกลิ่นรักแร้ได้ดังนี้

ต่อมเหงื่อเอ็คไคลน์ (Eccrine Sweat Glands)

เป็นต่อมเหงื่อที่พบได้มากที่สุด กระจายอยู่ทั่วผิวหนังในส่วนต่างๆ มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล ช่วยระบายความร้อนสะสม แล้วยังเกี่ยวเนื่องกับการตอบสนองความเครียด ความกังวลได้อีกด้วย จะผลิตเหงื่อออกมามากในวันที่มีอากาศร้อนอบอ้าวและตอนที่ร่างกายอยู่ในสภาวะเครียด โดยเหงื่อที่หลั่งออกมาจากต่อมเหงื่อเอ็คไคลน์จะเป็นเหงื่อที่ไม่มีกลิ่น

ต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์ (Apocrine Sweat Glands)

ต่อมเหงื่อที่มีหน้าที่สร้างกลิ่นเฉพาะตัว รวมทั้งกลิ่นตัว โดยพบได้ที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ หากมีต่อมเหงื่อประเภทนี้เยอะสามารถส่งผลให้รักแร้มีกลิ่นเหม็นได้มากขึ้น ซึ่งต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์จะทำงานเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนเพื่อสร้างกลิ่น โดยปกติจะเริ่มทำงานเมื่อร่างกายเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์ยังทำงานสัมพันธ์กับอาหารที่กินอีกด้วย หากกินอาหารที่มีกลิ่นแรงก็ส่งผลให้มีกลิ่นตัวได้

สาเหตุหลักที่ทำให้รักแร้เหม็น

สาเหตุหลักที่ทำให้รักแร้เหม็นมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก สามารถเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุรวมกันได้ หากใครมีปัญหารักแร้เหม็น การทราบต้นตอของปัญหาก็จะช่วยให้หาวิธีแก้ไขได้อย่างเหมาะสม โดยมีสาเหตุหลักที่ส่งผลโดยตรง 4 ประการดังต่อไปนี้

ฮอร์โมนร่างกาย

ฮอร์โมนในร่างกายเป็นตัวกำหนดการทำงานของต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์ที่มีหน้าที่สร้างกลิ่นตัว โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ทำให้เกิดเป็นรักแร้เหม็นได้ง่ายหากมีฮอร์โมนเพศชายสูง รวมทั้งคนที่อยู่ในภาวะฮอร์โมนทำงานผิดปกติก็จะทำให้รักแร้มีกลิ่นเต่ามากขึ้นได้อีกด้วย

ขนรักแร้เยอะ เกิดจากอะไร

ขนรักแร้เยอะ

ขนรักแร้เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียและสิ่งสกปรก ซึ่งเกิดการอับชื้นได้ง่ายผ่านการหมักหมมของเหงื่อ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รักแร้ไม่ได้รับการระบายอากาศและความชื้นที่เหมาะสม เนื่องจากมีขนรักแร้ที่ขึ้นดกหนาเป็นอุปสรรคอยู่นั่นเอง เมื่อแบคทีเรียหรือเหงื่อหมักหมมอยู่เป็นเวลานานจึงเกิดกลิ่นเหม็น นอกจากนี้การมีขนรักแร้เยอะยังทำให้ทำความสะอาดได้ยาก ไม่ทั่วถึง ทำให้กำจัดกลิ่นและสิ่งสกปรกออกไปไม่ได้ทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม : ขนรักแร้เยอะ และขึ้นเร็วมาก มีต้นตอและสาเหตุเกิดจากอะไร?

อาหารการกิน

การกินอาหารลดจัด หรืออาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น เครื่องเทศ ของหมักดอง เนื้อสัตว์ จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเหงื่อออกมามากยิ่งขึ้น เนื่องจากร่างกายสามารถซึมซับกลิ่นของอาหารที่กิน ทำปฏิกิริยากับต่อมเหงื่ออะโพรไคลน์และส่งกลิ่นเหม็นออกมาผ่านต่อมเหงื่อชนิดนี้ได้นั่นเอง

จากภาวะของโรคต่างๆ

โรคบางชนิดที่มีการกระตุ้นให้เหงื่อออกเยอะ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไทรอยด์ โรคตับ โรคไต ยังสามารถส่งผลให้มีกลิ่นตัว รักแร้เหม็นได้ง่ายกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ในคนที่อยู่ในวัยประจำเดือนใกล้หมดก็สามารถมีกลิ่นตัวได้อีกด้วย

วิธีแก้รักแร้เหม็น รักษากลิ่นรักแร้

แม้ว่ารักแร้เหม็นจะเป็นปัญหาที่หนักใจ เกิดขึ้นแล้วแก้ยาก แต่ก็มีหลายวิธีที่หากทำอย่างเคร่งครัด หรือเลือกทางลัดที่แก้ไขได้ในระยะยาว ก็จะสามารถแก้ปัญหารักแร้เหม็นได้อย่างถาวร โดยมีทั้งหมด 7 วิธีที่อยากแนะนำดังนี้

1. รักษาความสะอาด

การเจอมลภาวะนอกบ้านจากการเดินทางไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน ที่มีความสกปรกมาติดอยู่ตามร่างกาย ยิ่งพอเหงื่อออกมารวมตัวด้วยแล้วสามารถเกิดเป็นแหล่งแบคทีเรียและส่งกลิ่นออกมาได้ง่ายขึ้น การทำความสะอาดที่ทั่วถึง มีการขัดขี้ไคลสัปดาห์ละครั้งก็จะช่วยลดการหมักหมมและป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นตัวได้

ทาโรลออนระงับกลิ่น

2. โรลออนระงับกลิ่นกาย

รักแร้เหม็นที่มีสาเหตุมาจากการทำงานของต่อมเหงื่อหรือฮอร์โมนอาจรักษาได้ยากด้วยการรักษาความสะอาด แต่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเพื่อลดปริมาณเหงื่อและดับกลิ่นตัวเข้าช่วย อย่างการใช้โรลออนก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ง่าย มีให้เลือกหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการ สามารถลดการสะสมของแบคทีเรียได้อีกด้วย

โกนขนรักแร้ให้หมดเกลี้ยง

3. การโกนขน

เนื่องจากขนรักแร้เป็นสิ่งที่เพิ่มโอกาสให้รักแร้เหม็นง่ายขึ้น หากต้องการลดการสะสมสิ่งสกปรกหรือแบคทีเรีย ช่วยให้เหงื่อระบายได้ง่าย ทำความสะอาดได้ทั่วถึงมากขึ้น ควรกำจัดขนรักแร้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ลดกลิ่นรักแร้ โดยวิธีการโกนขนรักแร้เป็นการกำจัดขนที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด สะดวก แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอเมื่อขนขึ้นใหม่ซ้ำ

4. งดอาหารที่ทำให้มีกลิ่นตัว

การกินอาหารที่มีรสจัดหรือกลิ่นแรงอย่างกระเทียม ปลาร้า เครื่องเทศ รวมทั้งเนื้อสัตว์บางชนิดสามารถทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ โดยคนที่กินจะไม่รับรู้ถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากตัวเอง แต่คนรอบข้างสามารถรับกลิ่นได้ หากลดการกินอาหารดังกล่าวก็จะช่วยเลี่ยงการทำงานของต่อมเหงื่อซึ่งส่งกลิ่นผ่านรักแร้ ทำให้กลิ่นลดน้อยลงอีกด้วย

5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนและอับชื้น

ต่อมเหงื่อเอ็คไคลน์ในร่างกายที่มีหน้าที่สร้างเหงื่อซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายรับความร้อนและต้องการปรับอุณหภูมิผ่านการหลั่งของเหงื่อ เมื่ออยู่ในที่อากาศร้อนและชื้นจึงส่งผลให้ร่างกายเหงื่อออกเยอะขึ้น ระบายไม่ทันจนเกิดการหมักหมม เป็นอีกสาเหตุของปัญหารักแร้ส่งกลิ่นเหม็นได้

ลดเหงื่อรักแร้ ด้วย Botox

6. ฉีดโบท็อกรักแร้ลดเหงื่อ

โบท็อกลดเหงื่อเป็นการฉีดสารโบทูลินัมท็อกซินเข้าไปที่รักแร้เพื่อลดการทำงานของต่อมเหงื่อ ช่วยยับยั้งการผลิตเหงื่อได้สูงสุดถึง 80% เหมาะกับคนที่มีเหงื่อออกง่าย เหงื่อออกปริมาณเยอะจนเกิดเป็นกลิ่นอับ ซึ่งเป็นต้นเหตุของรักแร้เหม็น นอกจากนี้ยังเห็นผลได้ดีในคนที่รักแร้เปียกง่าย สามารถฉีดเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่อเหงื่อและเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดีขึ้น

โดยการฉีดโบท็อกรักแร้จะใช้ปริมาณในการฉีดประมาณข้างละ 50 – 100 ยูนิต เห็นผลลัพธ์นาน 4 – 6 เดือน ไม่เป็นอันตรายกับร่างกายหากได้รับโบท็อกของแท้ที่มีคุณภาพ เพราะสามารถสลายได้เอง ไม่ตกค้างในร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม : ฉีดโบท็อกรักแร้ ลดเหงื่อ ลดกลิ่นได้อย่างไร?

เลเซอร์กำจัดขนลดกลิ่นรักแร้

7. เลเซอร์กำจัดขนรักแร้

เลเซอร์กำจัดขนรักแร้เป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหารักแร้เหม็นได้ เนื่องจากเป็นวิธีการกำจัดขนซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นเหม็นจากการหมักหมมของเหงื่อและสิ่งสกปรก เป็นวิธีที่ตอบโจทย์มากกว่าการโกนหรือแว็กซ์ขนรักแร้ เพราะสามารถกำจัดขนรักแร้ไปได้อย่างถาวร ไม่กลับมาขึ้นใหม่แล้วพากลิ่นกลับมาอีก

เลเซอร์ขนรักแร้จึงเหมาะกับคนที่ต้องการกำจัดขนรักแร้ด้วยวิธีการถาวรและเห็นผลเรื่องลดกลิ่นตัว ต้องการประหยัดเวลา และอยากให้ทำความสะอาดรักแร้ได้ง่ายยิ่งขึ้น เพิ่มความมั่นใจทั้งในด้านความสวยงามเรียบร้อย รวมทั้งลดกลิ่น ช่วยได้มากในกลุ่มคนที่มีปัญหารักแร้เหม็นจากขนรักแร้เยอะ หากทำต่อเนื่องประมาณ 5 – 6 ครั้งขึ้นไป ขนรักแร้จะลดลงจนไม่ขึ้นอีกได้นานสุดถึง 2 ปี พร้อมมั่นใจได้ว่าปลอดภัย เพราะเป็นนวัตกรรมที่ได้มาตรฐาน

โปรโมชั่น เลเซอร์ขนรักแร้

รักแร้เหม็นข้างเดียว เพราะอะไร?

ปัญหารักแร้เหม็นเพียงข้างเดียวสามารถเกิดได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการเคลื่อนไหวร่างกาย อย่างการเสียดสีของผิวใต้วงแขนกับเสื้อผ้า ซึ่งมักเป็นกับแขนข้างที่ถนัดมากกว่าเนื่องจากมีการขยับบ่อยกว่า ส่งผลให้รักแร้มีกลิ่นเหม็นเพียงข้างเดียว นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากความสะอาดของเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ หากตากผ้าโดนแดดเพียงฝั่งเดียว หรือโดนฝน ความชื้นระหว่างวันเพียงบางส่วน ก็ส่งผลให้รักแร้เหม็นข้างเดียวได้เช่นกัน

การดูแลรักษาความสะอาดของรักแร้

การดูแลความสะอาดของรักแร้เบื้องต้นสามารถช่วยลดกลิ่นเหม็นและความอับชื้นจากเหงื่อหรือสิ่งสกปรกที่สามารถพัฒนากลายเป็นกลิ่นตัวได้ โดยควรให้ความสำคัญกับเสื้อผ้าที่สะอาด ไม่มีกลิ่นอับชื้น ชุดที่สวมใส่สามารถระบายอากาศได้ดี นอกจากนี้ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเป็นประจำ และทำความสะอาดรักแร้ให้สะอาดทุกวัน ร่วมกับการสครับหรือขัดขี้ไคลบริเวณรักแร้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง

สรุป

หากเริ่มมีปัญหากลิ่นตัว รักแร้เหม็น ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นโดยด่วน เพื่อลดโอกาสการเกิดเป็นกลิ่นตัวรุนแรงจนแก้ไขยาก หรือหากใครที่ลองปรับเปลี่ยนด้วยตัวเองแล้วก็ยังไม่เห็นผลตามต้องการ ควรศึกษาวิธีรักษาที่เหมาะกับตนเอง แนะนำเป็นวิธีที่เห็นช่วยได้ไวและเห็นผลนานอย่างการเลเซอร์ขนรักแร้และการฉีดโบท็อกรักแร้ลดเหงื่อ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ ปลอดภัย ได้ประสิทธิภาพ ช่วยลดขนรักแร้และยับยั้งเหงื่อได้ดี กำจัดกลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่ต้นตอ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง