หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไร พร้อมแนะนำการกินที่ถูกวิธี ที่ส่งผลดีต่อฟิลเลอร์

หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไรบ้าง

หลายคนอาจทราบแล้วการฉีดฟิลเลอร์เติมร่องลึกไม่สามารถให้ผลลัพธ์ถาวรได้ จำเป็นต้องฉีดเติมเรื่อยๆเพื่อคงสภาพผลลัพธ์ โดยทั่วไปฟิลเลอร์จะมีอายุประมาณ 6-18 เดือนแล้วจะค่อยๆสลายไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของคนไข้แต่ละบุคคลด้วย หากต้องการยืดอายุฟิลเลอร์ให้ยาวนานขึ้น จึงจำเป็นต้องรู้ถึงวิธีการปฏิบัติตัว พฤติกรรมการกิน และข้อควรระวังเพื่อให้ฟิลเลอร์เข้าที่และอยู่ยาวนานขึ้น กังนัมคลินิกได้รวบรวมความรู้เบื้องต้นมาฝากคนไข้กันค่ะ

สนใจบริการฉีดฟิลเลอร์ ของแท้และปลอดภัยได้มาตรฐาน โดยกังนัมคลินิก ปรึกษาเรา

อาหารที่ห้ามกิน และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังฉีดฟิลเลอร์ มีอะไรบ้าง?

อาหารที่ห้ามกิน และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังฉีดฟิลเลอร์
  • งดเว้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ เหล้า น้ำหมัก ไวน์ เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลโดยตรงกับการอักเสบบวมของฟิลเลอร์ ซึ่งหากเป็นกรณีอาการบวมที่เกิดจากการผิดปกติ อาจมีโอกาสบวมจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2-3 วัน ถึง 1 สัปดาห์ (จะดีที่สุด) ทั้งก่อนและหลังการฉีดฟิลเลอร์
  • งดเว้นจากการสูบบุหรี่ เพราะสารหลายชนิดในบุหรี่จะส่งผลต่อการขยายหลอดเลือด อันจะส่งผลให้แผลยุบบวมช้า และส่งผลต่ออายุที่สั้นลงของฟิลเลอร์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด นมวัว เพราะเป็นการกระตุ้นกระบวนการอักเสบของแผลได้
  • หลีกเลี่ยงการนั่งหรือทานอาหารที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อนๆ เช่น อาหารประเภทปิ้งย่าง ชาบู หมูกระทะ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ที่มีรสเผ็ดจัดมากๆ แสบร้อนจนหน้าแดง
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารดิบ

เนื่องจากส่วนประกอบอาหารหมักดอง อาจมีสารกันเชื้อรา สี วัตถุกันเสีย และสารฟอกสี เจือปนมาในอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อันอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดิบ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ปลาร้า ไข่ดาวไม่สุก ไข่ลวก เนื้อปรุงไม่สุก และควรล้างผักผลไม้ให้สะอาด เพราะอาหารเหล่านี้เป็นศูนย์รวมของพยาธิ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้ออื่นๆที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากเรารับประทานเข้าไป อาจส่งผลให้เชื้อโรคเข้าไปในเส้นเลือด อันเป็นการขัดขวางการซ่อมแซมแผลและอาจทำให้แผลติดเชื้อได้ ดังนั้น คนไข้จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดองและอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบหลังการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อป้องกันการอักเสบบวมและการติดเชื้อ

ก่อนฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไรบ้าง?

ก่อนฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไร
  • งดอาหารเสริมและ ยาบางชนิด เช่น อาหารเสริมวิตามินอี น้ำมันปลา หรือสารสกัดสมุนไพรที่ส่งผลให้เลือดหยุดไหลยาก เช่น โสม กิงโกะ กระเทียม และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวดหรือยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโรเฟน ก่อนและหลังการฉีดฟิลเลอร์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพราะจะทำให้เกิดการช้ำได้ง่ายขึ้น

อาหารที่ควรกินหลังฉีดฟิลเลอร์ เพื่อให้ฟิลเลอร์อยู่นานขึ้นมีอะไรบ้าง?

ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติตัวหลังจากฉีดฟิลเลอร์ที่คนไข้ควรกระทำเพื่อเป็นการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและทำให้บาดแผลหายไวขึ้น คำแนะนำจากคุณหมอมีดังนี้ค่ะ

  • การดื่มน้ำ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน (ประมาณ 12 แก้ว) เพราะน้ำมีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน เติมความชุ่มชื้นให้กับผิว
  • รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนเสริมสร้างคอลลาเจน เช่น โปรตีน คอลลาเจน วิตามินซี
  • รับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซีสูงตามธรรมชาติ ทั้งกลุ่มผลไม้สีแดงส้มเหลืองและกลุ่มผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สัปปะรด แครอด มันฝรั่งหวาน กีวี่ สตอเบอร์รี่ จะช่วยให้ผิวเต่งตึงมากขึ้นและเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดฟิลเลอร์

การฉีดฟิลเลอร์ในคนไข้บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถูกต้องของการฉีดรักษาและประเภทของฟิลเลอร์ที่ใช้โดยฟิลเลอร์ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดคือ ฟิลเลอร์ชนิดถาวร เช่น เม็ดพลาสติก ซิลิโคน น้ำมันพาราฟิน เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันสารเหล่านี้ไม่นำมาใช้แล้ว เว้นแต่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมไม่ได้มาตรฐานหรือฉีดกับหมอกระเป๋า อาการที่มักพบบ่อย ได้แก่ อาการเจ็บ เป็นผื่นแดง บวม คัน รอยฟกช้ำ ทั้งนี้ อาการที่มักพบรองลงมา คือ

  • อาการแพ้
  • แผลเปิดหรือมีเลือดออก
  • เลือดอุดกั้นในปอด
  • สารฟิลเลอร์ที่ฉีดไปขัดขวางหลอดเลือด เป็นสาเหตุให้เนื้อตาย ตาบอดถาวร หรือเป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
  • ใต้ผิวหนังเกิดก้อน โดยต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  • ฟิลเลอร์ที่ฉีด เคลื่อนตัวไปจากบริเวณที่ต้องรักษาหลายครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีผลข้างเคียงที่ถือว่าอันตรายอีกระดับหนึ่ง คือ การติดเชื้ออันมีเกิดจากเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ของแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญมากพอ หรืออาจทำผิวไม่เรียบเนียน อาจคลำได้หรือมีลักษณะเป็นตุ่ม ซึ่งมีสาเหตุจากการเลือกชนิดฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ฉีด

เช่น หากคนไข้ต้องการฉีดฟิลเลอร์บริเวณรอยย่นของตีนกา ต้องเลือกฟิลเลอร์ที่เนื้อไม่หนาจนเกินไป เพราะจะทำให้เห็นเป็นก้อนผิวหนังในบริเวณผิวหนังบางๆได้ คนไข้บางรายอาจมีอาการบวม แดง จากการแพ้ฟิลเลอร์หลังจากฉีดได้ แต่ในกรณีที่ฉีดแล้วตาบอดนั้น เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก

ในกรณีที่แพทย์ที่ฉีดฟิลเลอร์ไม่มีความชำนาญมากพอนั้น อาจฉีดไปเข้าหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำเส้นใหญ่ อันเป็นสาเหตุให้ฟิลเลอร์ไหลเข้าไปตามเส้นเลือด นำไปสู่การอุดตันได้ กรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือ เข้าไปอุดตันเส้นเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตา อันอาจทำให้ตาบอดได้ ซึ่งเป็นกรณีที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก โดยจะเกิดขึ้นตอนที่ฉีดทันที

บทสรุป

ดังนั้น การฉีดฟิลเลอร์เป็นหนึ่งในรูปของการนำสารเติมเต็มเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจำต้องอาศัยการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้งควรคำนึงถึงการงดหรือห้ามบริโภคอาหาร ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหรือผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ที่เป็นอันตรายกับคนไข้เองได้ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร คนไข้จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การฉีดฟิลเลอร์ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจมากที่สุด อันจะส่งผลให้คนไข้มีรูปหน้าที่สวยควบคู่กับการมีสุขภาพดีทั้งภายในสู่ภายนอก

อีกทั้งยังช่วยให้ฟิลเลอร์ที่ฉีดมีประสิทธิภาพและอยู่ได้นานอีกด้วย ( อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ฉีดฟิลเลอร์กี่วันเข้าที่ พร้อมแนะนำวิธีทำให้ฟิลเลอร์เข้าที่ได้ดีเร็วขึ้น )

และเพื่อให้การฉีดฟิลเลอร์ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจมากที่สุด อันจะส่งผลให้คนไข้มีรูปหน้าที่สวยควบคู่กับการมีสุขภาพดีไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง