คันรักแร้ เกิดจากอะไร? พร้อมบอกวิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

คันรักแร้ แก้อย่างไรดี

รู้หรือไม่ว่า!? อาการคันรักแร้จนหยุดเกาไม่ได้ที่ทำให้รู้สึกหงุดหงิดนั้น แท้จริงแล้วเกิดขึ้นได้จากการระคายเคืองผิวบริเวณใต้วงแขน จนทำให้เกิดอาการคัน ซึ่งเกิดได้จากทั้งการมีเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราสะสมที่รักแร้ เกิดจากการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกิดการเสียดสี หรือกำกำจัดขนรักแร้แบบผิดวิธี รวมไปถึงภาวะสุขภาพ เช่นโรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อแคนดิดา โรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอาการคันรักแร้ว่าอันตรายหรือไม่ ควรแก้ไขอย่างไร และหากมีอาการคันรักแร้มากๆต้องไปพบแพทย์ไหม มาดูคำตอบกัน

คันรักแร้เกิดจากอะไร?

การคันรักแร้ เป็นอาการคันที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

คันรักแร้เกิดจากอะไร
  • อากาศร้อน อากาศร้อนจะทำให้เกิดผดร้อนขึ้นจากการอุดตันของต่อมเหงื่อที่มีการสะสมของแบคทีเรีย จึงทำให้เซลล์ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้นส่งผลให้เกิดอาการคันตามผิวหนังได้
  • เหงื่อหรือแบคทีเรีย ต่อมเหงื่อที่มาจากการสะสมของแบคทีเรียในชั้นเซลล์ผิว จะทำให้ผิวหนังมีน้ำมันออกมาได้มากขึ้น จนเกิดเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ ใสๆ ขึ้นที่ผิว และบางรายอาจมีการอักเสบจนเกิดหนอง ทำให้รู้สึกคันและเจ็บตามมา
  • การเสียดสีของผิว การเสียดสีของผิวใต้วงแขน จากการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น หรือมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง จนเป็นผื่นและผิวหนังอักเสบทำให้เกิดอาการคันได้ง่าย
  • โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเป็นการติดเชื้อที่มาจากการสัมผัสเชื้อรา จึงทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ ทำให้เกิดเป็นผื่นแพ้หรือตุ่มเหงื่อที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงเล็กๆ หรือเป็นตุ่มน้ำใสๆ หรือทำให้มีผิวแห้งเป็นขุย มีผื่นแดง ทำให้เกิดอาการคันใต้วงแขน
  • การกำจัดขนรักแร้ผิดวิธี การกำจัดเส้นขนที่ผิดวิธี ไม่ว่าจะเป็นการโกนขนโดยใช้มีดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สะอาด การถอนขนผิดทิศทาง หรือการใช้น้ำยากำจัดขนที่เป็นสารเคมี ซึ่งล้วนเสี่ยงต่อการแพ้หรือผิวหนังระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่าย จึงส่งผลทำให้เกิดอาการคันรักแร้ได้

การกำจัดขนรักแร้ที่อาจทำให้เกิดอาการคันมีอะไรบ้าง?

อยากที่หลายๆคนรู้กันกว่า การกำจัดขนรักแร้ก็เป็นอีกหาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคันตามมา ซึ่งการกำจัดขนที่เสี่ยงทำให้มีอาการคันรักแร้มีดังนี้

  • การโกน
    การโกนขนรักแร้ เป็นการกำจัดขนโดยการใช้มีดโกนขูดไปที่เส้นขน เพื่อตัดขนที่อยู่บนผิวให้ขาดออกจากรากให้เหลือแค่ต่อขน ซึ่งการใช้มีดโกนที่ไม่สะอาด หรือการโกนขนขณะผิวแห้ง ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง จนมีอาการคันรักแร้ที่รุนแรงมากขึ้น
  • การถอน
    การถอนขนเป็นวิธีการกำจัดขนที่หลายๆ คนยังเลือกใช้วิธีนี้อยู่เพราะง่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขน ถึงแม้จะช่วยให้เส้นขนขึ้นได้ช้าลง แต่ก็การถอนขนอาจทำให้รูขุมขนเกิดการอักเสบ และเกิดอาการเจ็บระหว่างถอน ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อปัญหาขนคุด ผิวหนังไก่ และทำให้เกิดอาการคันรักแร้ตามมาได้มาก
  • การแว็กซ์ขน
    การแว็กซ์รักแร้ เป็นการกำจัดขน ที่ง่ายดายไม่ประหยัดเวลาการกำจัดขนรักแร้ แต่การแว็กซ์ขนก็เป็นวิธีที่อำให้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน แม้จะไม่ทำให้เกิดบาดแผลที่มองเห็นได้ แต่ก็ทำให้เกิดบาดแผลที่รูขุมขนซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงทำให้รู้สึกเจ็บ และบางรายอาจมีผดผื่นหรือตุ่มแดงขึ้นได้ตามรูขุมขน ทำให้เกิดอาการคันได้ในระยะยาว
  • การใช้ครีมกำจัดขน
    การใช้ครีมกำจัดขนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายๆมากเพียงแค่ใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดขน ซึ่งในเนื้อครีมจะมีส่วนประกอบของสารเคมีชนิดต่างๆ ที่มีการออกฤทธิ์เป็นด่างสูงซึ่งอาจทำให้ผิวหนังในบริเวณที่บอบบางมีอาการแพ้ได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณใต้วงแขน จึงส่งผลทำให้ผิวแห้งลอกและเกิดอาการคันรักแร้ตามมา

อ่านบทความเพิ่มเติม : 10 วิธีกําจัดขนรักแร้ ไม่ให้เป็นตอ ข้อดี-ข้อเสีย วิธีไหนให้ผลลัพธ์ถาวร แบบธรรมชาติ

อาการคันรักแร้ สามารถแก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

เพื่อไม่ให้เกิดอาการคันรักแร้ที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือมีอาการคันรักแร้ที่รุนแรงจากการระคายเคืองผิวใต้วงแขน สามารถแก้ไขและป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • อาบน้ำทำความสะอาด
    การอาบน้ำทำความสะอาด ด้วยสบู่ที่มีความอ่อนโยนต่อผิวเป็นประจำทุก ๆ วัน และซับผิวหนังในบริเวณที่เกิดการอับชื้นง่าย เช่น บริเวณข้อพับแขน ขา และรักแร้ให้แห้งสนิท เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมของเหงื่อไคลหรือแบคทีเรีย ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายสะอาด ลดการเกิดกลิ่นตัว และลดอาการคันรักแร้ได้
  • สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นและระบายอากาศได้ดี
    การเลือกเสื้อผ้าที่มีระบายอากาศได้ดี และช่วยส่งผ่านความร้อนไม่ทำให้เกิดการอับชื้นบริเวณใต้วงแขน ช่วยลดเกิดการสะสมของแบคทีเรียเกิดการผลิตต่อมเหงื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผดผื่นคัน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น ซึ่งมีผลต่อการเสียดสีผิวใต้วงแขนจนเกิดการระคายเคือง
  • งดการเกาบริเวณรักแร้
    เมื่อมีอาการคันรักแร้ ควรงดการสัมผัสผิวหนังบริเวณรักแร้อย่างรุนแรงเช่นการเกา แคะ บีบ นวด จับ นวด เพราะอาจทำให้ผิวหนังเกิดการถลอก มีแผล เสี่ยงต่อการอักเสบหรือติดเชื้อที่รุนแรงตามมา นอกจากนี้ควรงดการถอนขนเพื่อช่วยป้องกันการทำร้ายผิวหนังให้อ่อนแอ และควรรักษาอาการคันระคายเคืองให้หายดีเสียก่อน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี
    การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเคมี แอลกอฮอล์ หรือน้ำหอมในโรออน สเปรย์ระงับกลิ่นกาย หรือผลิตภัณฑ์สำหรับใต้วงแขนต่างๆ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว เนื่องจากสารเคมีบางชนิดมีการออกฤทธิ์ที่รุนแรงทำให้ผิวเกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนที่ความอ่อนโยนสูง และมีส่วนประกอบสำคัญจากธรรมชาติ เช่น Tea Tree oil หรือ Persimmon Fruit Extract เป็นต้น
  • ประคบเย็น
    หากรู้สึกว่าเริ่มมีอาการคันระคายเคืองที่บริเวณใต้วงแขน หรือเกิดผิวหนังอักเสบ ควรประคบเย็นให้กับผิวจะช่วยลดการอักเสบ ตามรูขุมขน และช่วยลดการระคายเคืองของผิวได้เป็นอย่างดี โดยการนำผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นประคบไว้ 30 นาที เพียงเท่านี้อาการคัดต่างๆก็จะค่อยๆดีขึ้น นอกจากนี้การประคบเย็นยังช่วยปลอบประโลมให้ผิวรู้สึกผ่อนคลายขึ้นอีกด้วย
  • กำจัดขนรักแร้ด้วยเลเซอร์
    การทำเลเซอร์ขนรักแร้ เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพราะเครื่องเลเซอร์ที่นำมาใช้รักษามีการปล่อยความยาวคลื่นที่เหมาะสมจึงสามารถไปทำลายเซลล์เม็ดสีในชั้นรากขนและส่งต่อความร้อนออกไปที่รากขน จึงสามารถทำลายเส้นผมได้โดยตรงโดยที่ไม่มีการทำลายผิวหนังโดยรอบให้เกิดการระคายเคือง จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันและแก้ไขอาการคันรักแร้ได้อย่างตรงจุด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน
    เพราะอากาศที่ร้อนทำให้มีเหงื่อออกมากโดยเฉพาะบริเวณใต้วงแขน ดังนั้นเพื่อป้องการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และความอับชื้นต่างๆควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด เพื่อช่วยลดการผลิตต่อมเหงื่อให้น้อยลง เป็นการช่วยป้องกันการเกิดผดผื่นและอาการคันได้เป็นอย่างดี
  • ปรึกษาเภสัชกรเพื่อใช้ยารักษา
    หากมีอาการคันที่มาจากการติดเชื้ออย่างรุนแรงหรือมีอาการคันอย่างต่อเนื่อง เป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อใช้ยารักษา ซึ่งยาที่นิยมใช้รักษาอาการคันได้แก่ ครีมไฮโดรคอร์ติโซน และโลชั่นคาลาไมน์ ที่มีส่วนผสมของคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) และโคไตรมาโซล (Clotrimazole) ที่ช่วยฆ่าเชื้อ ลดอาการคันที่เกิดจากการติดเชื้อยีสต์หรือเชื้อราได้

กำจัดขนรักแร้วิธีไหนช่วยลดเสี่ยงกับการคัน

เครื่องเลเซอร์รักแร้ Long Pulse ND Yag

การเลือกวิธีกำจัดขนรักแร้ด้วยเลเซอร์ Long Pulse ND Yag เป็นเลเซอร์ที่ดีที่สุดในไทย มาตรฐานอเมริกา มีช่วงความยาวของคลื่นอยู่ที่ 1,064 nm ทำให้การกำจัดขนรวดเร็วและเห็นผลชัดเจน เนื่องจากเครื่องเลเซอร์จะส่งคลื่นพลังงานลงไปที่รากขนชั้นลึกถึง 7 มิลลิเมตร จากนั้นคลื่นแสงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานเป็นการสะสมความร้อนกำจัดเม็ดสีที่มีชื่อว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) บริเวณรากขนในระยะที่โตเต็มที่ ทำให้รากขนสามารถดูดซับพลังงานความร้อนเอาไว้ เป็นเหตุให้รากขนฝ่อและเส้นขนหลุดร่วงออกไป อย่างง่ายดาย และเมื่อทำอย่างต่อเนื่องเซลล์จะฝ่อลงจนหยุดการทำงาน จึงไม่สามารถผลิตเส้นขนใหม่ได้ ถือว่าเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ได้อย่างถาวร ด้วยประสิทธิภาพมากที่สุดในการกำจัดขนอันดับ 1 การันตีด้วยประสบการณ์กว่า 8 ปี

อาการคันรักแร้แบบไหนควรไปพบแพทย์?

หากลองรักษาอาการเบื้องต้นแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้สังเกตอาการคันของตัวเองว่าเข้าข่ายอาการคันรักแร้ที่ควรไปพบแพทย์หรือไม่ดังนี้

  • มีผื่นแดง คัน แสบร้อน และอาจทำให้รูขุมขนอักเสบและมีตุ่มหนอง
  • เกิดอาการคัน จนผิวหนังกลายเป็นกลาก (Ringworm)
  • เกิดการติดเชื้อราที่มีลักษณะเป็นวงสีแดงและมีขุยสีขาวบาง ๆ ขึ้นโดยรอบ
  • เกิดอาการคันจนเป็นโรคผื่นระคายสัมผัส (Contact Dermatitis)
  • มีอาการระคายเคืองจนเป็นภูมิแพ้ ทำให้เกิดผื่นแดงและคันซึ่งอาจเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
  • เกิดการอักเสบผิวหนังเรื้อรัง ทำให้ผิวแห้ง บวมแดง คัน และมีตุ่มเล็ก ๆ บนผิวหนัง

รีวิวเลเซอร์ขนรักแร้

เลเซอร์-Long-Pulse-ND-Yag-กำจัดขนรักแร้

สรุปคันรักแร้ต้องไปพบแพทย์ไหม?

อาการคันรักแร้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการกำจัดขนรักแร้แบบผิดๆ แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการกำจัดขนรักแร้ให้ถูกต้องโดยไม่ทำร้ายผิว เพื่อรักษาและป้องกันการเกิดปัญหาคันรักแร้ในระยะยาว แต่หากมีอาการคันรักแร้ร่วมกับอาการบวมแดง กดเจ็บ อาจเกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อการตรวจโรคได้อย่างละเอียด และเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทันท่วงที ดังนั้นหากเกิดอาการคันรักแร้ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานๆ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง