ฝีที่รักแร้ เกิดจากอะไร? อันตรายไหม? สามารถป้องกันและรักษาด้วยวิธีไหนบ้าง?

ฝีที่รักแร้

สำหรับใครที่เคเป็นฝีจะรู้ดีว่าการเป็นฝีนั้นทำให้รู้สึกเจ็บปวดทรมาน โดยเฉพาะเวลาที่มีการอักเสบมากๆ หรือเวลาที่ฝีขึ้นอยู่ในจุดที่ต้องมีการกดทับอยู่ตลอดเวลาอย่างฝีรักแร้ ซึ่งเป็นอุปสรรคมากในการเลือกสวมใส่เสื้อผ้า เพราะอาจทำให้เกิดการเสียดสีจนทำให้ฝีแตกมีหนองไหลซึมเลอะเสื้อผ้าจนเสียความมั่นใจได้ ออนนี่เลยไม่รอช้าที่จะพาคุณมาทำความรู้จักกับฝีรักแร้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอันตรายไหม และสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง

ฝีที่รักแร้ คืออะไร

ฝีที่รักแร้ เป็นอย่างไร

ฝี (Boil หรือ Furuncle) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ก่อตัวในรูขุมขน และไปผสมเข้ากับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วในต่อมน้ำมันที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือในรูขุมขน ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดหนอง ผิวหนังแดง บวม อุดตัน และอาจเจ็บปวดเมื่อสัมผัส พบได้บ่อยในบริเวณผิวหนังที่มีเส้นขนเช่น ฝีบริเวณรักแร้เป็นต้น

การเกิดฝีที่รักแร้

ฝีที่รักแร้เกิดขึ้นจากอะไร

ฝีรักแร้มักเกิดขึ้นมาจากการอักเสบของรู้ขุมขน ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

กำจัดขนรักแร้ แบบไหนดี

การกำจัดขนแบบผิดวิธี

  • การกำจัดขนแบบผิววิธีจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง และเกิดการอักเสบได้ง่าย ส่งผลให้เกิดอาการบวม แดง รู้สึกเจ็บปวด เกิดแผลที่ผิวหนัง หรือการติดเชื้อในรูขุมขนจนกลายเป็นฝีรักแร้ได้ในที่สุด ซึ่งการกำจัดขนแบบผิดวิธีจะประกอบไปด้วย
  • การโกนขน เป็นการกำจัดขนที่หลายๆคนนิยมใช้เพราะคิดว่าสะดวก รวดเร็ว แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีนี้เป็นเพียงการกำจัดขนเฉพาะแค่ด้านบนของผิวเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดขนได้ทั้งราก และยังเสี่ยงต่อการโดนมีดโกนบาด หรือเกิดการระคายเคืองที่ผิว จนกลายเป็นฝีได้
  • การแว็กซ์ขน การแว็กซ์ขนรักแร้อาจจะช่วยทำให้สามารถกำจัดขนได้ทั้งรากในครั้งละมากๆ แต่ในขณะทำก็อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บแสบได้ เนื่องจากจะต้องมีการกระชากเส้นขนอย่างแรงเพื่อให้เส้นขนหลุดออกมาทั้งราก แต่วิธีนี้ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เส้นขนขาด และเกิดการอักเสบที่ผิว อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดขนคุด ผิวหนังไก่ และการเกิดฝีที่รักแร้
  • การถอนขน การถอนขนอาจทำให้รูขุมขนเกิดรอยแผลและทำให้มีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปสะสมอยู่ในรูขุมขน จึงทำให้เกิดการอักเสบกลายเป็นฝีรักแร้ นอกจากนี้ในระหว่างการถอนขนก็อาจจะทำให้เส้นขนขาดออกจากราก จนทำให้เกิดขนคุดได้ง่ายๆ

อ่านบทความเพิ่มเติม : 10 วิธีกําจัดขนรักแร้ ไม่ให้เป็นตอ ข้อดี-ข้อเสีย วิธีไหนให้ผลลัพธ์ถาวร แบบธรรมชาติ

รักษาความสะอาดบริเวณรักแร้ได้ไม่ดี

เพราะบริเวณรักแร้เป็นจุดที่มีเหงื่อออกได้ง่าย และเหงื่อก็เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการอับชื้นได้ง่าย และระบายอากาศได้ไม่ดีอย่างบริเวณรักแร้ ซึ่งถ้าหากไม่ทำความสะอาดให้ดี ก็อาจจะทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย เซลล์ผิวหนังที่ตาย ผสมรวมกับไขมัน กลายเป็นฝีได้ในที่สุด

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอจะทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ เป็นเหตุทำให้เวลามีการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จึงเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆทางผิวหนัง ทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคภูมิแพ้ และโรคฝีในที่สุด
  • การสวมเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น
    การสวมเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่นถือเป็นการเสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อโรค หรือแบคทีเรียมาแบบไม่รู้ตัว เนื่องจากเราไม่รู้เลยว่าผู้อื่นที่ว่านี้มีปัญหาทางผิวหนังหรือไม่ ซึ่งหากผิวหนังมีการสัมผัสในช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะทำให้เกิดการติดฝีได้ง่าย

ฝีที่รักแร้ต่างกับสิวที่รักแร้ อย่างไร

ฝีที่รักแร้กับสิวที่รักแร้ต่างกันอย่างไร

ฝีที่รักแร้ (boil underarm) และ สิวที่รักแร้ (pimple armpit) แม้ว่าลักษณะที่ใกล้เคียงกัน จนทำให้หลายคนเกิดความสับสนได้ วันนี้ออนนี่มีข้อแตกต่างของทั้ง 2 อย่างมาแจ้ง เพื่อที่คุณจะสามารถแยกฝีรักแร้กับสิวออกได้ง่ายขึ้น

ลักษณะของฝีลักษณะของสิว
ฝีเป็นการติดเชื้อภายในรูขุมขนที่อยู่ลึกลงไปในรูขุมขนจึง ทำให้มีขนาดใหญ่กว่าสิวสิวจะเล็กกว่าฝี เนื่องจากสิวเป็นการติดเชื้อที่ต่อมไขมันที่อยู่บนสุดของชั้นผิวหนัง
ฝีที่รักแร้มักจะมีลักษณะเป็นก้อนอักเสบแดงบวมมีหัวขาวหรือเหลืองอยู่ภายใน และรู้สึกเจ็บมากเมื่อสัมผัสสิวมักมีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็กที่ผิวหนัง ส่วนใหญ่มีหัวสีขาวหรือดำอยู่ภายใน เมื่อมีการอักเสบอาจทำให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อย
ฝีมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเส้นขนอยู่ เช่นฝีรักแร้ ฝีบริเวณน้องสาวสิวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผิวหนัง ซึ่งพบได้มากที่บริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก และหลัง

ฝีที่รักแร้มีอาการอย่างไรบ้าง

  • ฝีที่รักแร้จะทำให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดอักเสบมีลักษณะเป็นก้อนบวมและผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • เมื่ออยู่ในระยะเริ่มต้นของการเกิดฝี อาจรู้สึกคันที่ตุ่ม หรือบริเวณโดยรอบผิวหนัง
  • ก้อนฝีที่มีการอักเสบเมื่อมีการสัมผัสได้รู้สึกได้ว่าผิวหนังมีความอ่อนนุ่มเหมือนมีของเหลวอยู่ด้านใน แต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวดมาก รวมถึงมีอาการแสบร้อนหรือปวดร้าวไปจนถึงบริเวณรอบๆได้
  • บางรายอาจมีอาการปวดเมื่อย เบื่ออาหาร มีไข้สูงรู้สึกไม่สบาย คั่นเนื้อคั่นตัว หนาวสั่นร่วมด้วยเนื่องจากมีการติดเชื้อภายในร่างกาย

วิธีรักษาฝีที่รักแร้ มีอะไรบ้าง

การรักษาฝีที่มีขนาดเล็กและไม่เจ็บปวดรุนแรง สามารถรักษาเบื้องต้นเองได้ โดยต้องหลีกเลี่ยงการบีบกดหรือใช้เข็มเจาะฝีด้วยตนเอง แต่หากมีอาการที่รุนแรงจำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป ซึ่งวิธีรักษาฝีที่รักแร้มีดังนี้

ทานยา

สำหรับผู้ที่เป็นฝีแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ Dicloxacillin, Cephalexin หรือ Ciprofloxacin (ชนิดของยาปฏิชีวนะจะขึ้นกับความรุนแรงและการอักเสบของฝี) เพื่อช่วยลดการอักเสบและลดการติดเชื้อในร่างกาย โดยเฉพาะกับคนไข้ที่มีการติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออย่างเฉียบพลัน หรือคนไข้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแทรกซ้อน ซึ่งโดยส่วนมากแพทย์มักจะมีการจ่ายยาให้รับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์

ผ่าตัดฝีที่รักแร้

การผ่าฝีเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาฝีที่รักแร้ ที่มีอาการอุดตันหรือมีหนองอยู่ภายใน โดยการผ่าเปิดแผลบริเวณที่อักเสบเพื่อนำเอาหนองและสิ่งอุดตันที่อยู่ภายในออกมา จากนั้นทำการล้างและขจัดสิ่งคัดหลั่งในภายในฝีให้สะอาด (รวมถึงการฆ่าเชื้อโรค) แล้วทำการเย็บปิดรอยแผลให้สนิทและ ปิดด้วยผ้าก๊อซหรือปลาสเตอร์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งวิธีนี้เป็นการรักษาฝีที่รวดเร็ว แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องการรักษาความสะอาดของแผลในช่วง 3-7 วัน และวิธีนี้อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นตามมาได้

ประคบร้อน

การประคบร้อนที่ฝีจะช่วยทำให้เส้นเลือดบริเวณที่เกิดฝีไหลเวียนได้ดีขึ้น และความร้อนจะช่วยลดการอักเสบของฝีได้ โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดๆ ประคบที่บริเวณฝีและรอบๆ ครั้งละ 10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้งต่อวัน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้หนองมารวมที่หัว ช่วยลดอาการบวมและช่วยให้ฝียุบลงได้ไวขึ้น (แต่อุณหภูมิที่ใช้ควรเป็นอุ่นภูมิอุ่นๆไม่ควรร้อนมากจนเกินไป) เพราะอาจจะทำให้ผิวเกิดรอยแดงและทำให้ฝีบวมมากกว่าเดิมได้

พอกสมุนไพรรักษาฝี

การพอกสมุนไพรเพื่อรักษาฝีที่รักแร้ เป็นการรักษาฝีด้วยวิธีทางธรรมชาติ เพื่อบรรเทาอาการและช่วยฟื้นฟูผิวหนังของร่างกาย โดยสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาฝีมีหลายชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย คว่ำตายหงายเป็น โคกกระออม จักรนารายณ์ เจตมูลเพลิงแดง ชุมเห็ดเทศ ดอกดินแดง โด่งไม่รู้ล้ม ต้อยติ่ง ตาลเดี่ยว และทองหลางใบมนเป็นต้น แต่ก่อนการใช้สมุนไพรพอกรักษาฝีควรมีการศึกษาให้ละเอียด เนื่องจากหากมีขั้นตอนการทำที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่สะอาดเพียงพอก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

การรักษาฝีที่รักแร้ต้องใช้เวลานานไหม กี่วันถึงหาย

โดยปกติแล้วฝีที่รักแร้จะแห้งไปเองภายใน 2 สัปดาห์ แต่คุณลองสังเกตเห็นว่าฝีที่รักแร้ดูมีความผิดปกติ เช่นมีการอักเสบรุนแรงมากขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้รู้สึกเจ็บปวด หรือมีอาการบวมเป่งเนื้อภายในเริ่มเปลี่ยนสี แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดรักษาได้ทันที

เป็นฝีรักแร้ อันตรายไหม?

ฝีรักแร้ ถึงแม้จะไม่ใช่ภาวะที่อันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต แต่ฝีรักแร้ก็สร้างความเจ็บปวดและทรมานได้ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อเป็นฝีที่รักแร้เพราะจะทำให้การสวมใส่เสื้อผ้านั้นเป็นไปได้ยากมาก นอกจากนี้ยังทำให้การยกแขนหรือหุบแขนเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะจะต้องคอยกังวลว่าฝีจะแตกเมื่อไหร่นั่นเอง

ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นฝีที่รักแร้

ฝีรักแร้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อใต้เนื้อเยื่อผิวหนัง ซึ่งหากไม่รีบทำการรักษาฝีอาจจะแตกออกมาส่งกลิ่นเหม็น และทำให้เชื้อลุกลามไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้อาการต่างๆแย่ลง และที่ร้ายแรงที่สุดเชื้อที่อยู่ในหนองภายในฝีอาจเกิดการลุกลามไปจนติดเชื้อในกระแสเลือดได้

แนวทางการดูแลและป้องกันฝีที่รักแร้มีอะไรบ้าง

  • รักษาความสะอาดของบริเวณรักแร้ โดยเฉพาะหลังจากการทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมาก เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและของแบคทีเรียใต้วงแขน
  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเสื้อผ้า มีดโกน และผ้าเช็ดตัว
  • หลีกเลี่ยงการทำร้ายผิวใต้วงแขนด้วยการโกน การถอน หรือการแว็กซ์ขน เพื่อไม่ทำให้เกิดบาดแผลหรือการระคายเคืองผิวใต้วงแขน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เช่นผักผลไม้ ให้ครบ 5 หมู่ ต่อวัน เพื่อเสริมต้านทานให้กันทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียได้
  • ทำเลเซอร์กำจัดขน เพื่อให้สามารถกำจัดขนได้อย่างถาวร ช่วยป้องกันไม่ทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน และช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนเพื่อให้ผิวใต้วงแขนมีความกระจ่างใส เรียบเนียน และป้องกันการเกิดฝีรักแร้ในระยะยาว

ข้อควรระวังในการรักษาฝี

ฝีเกิดขึ้นจากกระบวนการอักเสบของร่างกายดังนั้นในขณะที่กำลังรักษาฝี แนะนำให้งดปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นของการอักเสบทุกประเภท เช่น

  • งดการรับประทานอาหารแสลง เช่น ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหมัก ของดอง อาหารกระป๋อง หน่อไม้ และอาหารทะเลเป็นต้น
  • ห้ามการบีบ แกะ หรือเจาะเอาหนองออกด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย จนมีอักเสบและติดเชื้อหนักกว่าเดิม
  • งดใส่เสื้อผ้ารักรูป หรือเสื้อผ้าที่มีการรัดแน่นที่บริเวณรักแร้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียดสี ซึ่งอาจทำให้ฝีแตกได้
  • หากทำการรักษาด้วยการทานยาปฏิชีวนะ ควรทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรงดการถอนขน แว็กซ์ขน หรือโกนขนรักแร้ เพื่อป้องกันไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มขึ้น

รีวิวเลเซอร์กำจัดขนรักแร้ป้องกันฝี ที่กังนัมคลินิก

สรุป

ฝีที่รักแร้ไม่ใช้แค่จะทำให้รู้สึกเจ็บปวดเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะสร้างปัญหาทำให้ผิวไม่เรียบเนียน และเกิดรอยแผลเป็นที่รักแร้ตามมาได้อีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรป้องกันการเกิดฝีตั้งแต่ต้นเหตุ อย่างการทำเลเซอร์รักแร้ด้วย Long Pulse ND Yag Laser ที่จะช่วยในการกำจัดเส้นขนได้ลึกถึงราก โดยไม่ทำร้ายผิวให้ระคายเคือง ไม่ทำให้เกิดการอุดตันหรือการอักเสบในรู้ขุมขน จึงสามารถช่วยป้องกันไม่ทำให้เกิดฝีใต้วงแขนได้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง