สิวฮอร์โมน เกิดจาก + วิธีรักษาสิวฮอร์โมนให้ได้ผล

สิวฮอร์โมน เกิดจาก + วิธีรักษาสิวฮอร์โมนให้ได้ผล

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ไม่ว่าจะเพศหญิงหรือ เพศชาย จะต้องเจอกับปัญหา สิว ที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “สิวฮอร์โมน” ซึ่งมักสร้างความรำคาญใจเป็นอย่างมาก ในบทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับประเภทนี้กันว่าเกิดขึ้นจากอะไร และมีวิธีรักษาสิวฮอร์โมนอย่างไรให้ได้ผล หากอยากรู้แล้วสามารถอ่านต่อได้ในหัวข้อด้านล่าง

สาเหตุของ สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร?

สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร

สิวฮอร์โมนเป็นสิวที่มักเกิดขึ้นในระของการก้าวเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หรือ ฮอร์โมนภายในร่างกายมีความไม่สมดุลกัน และมีอีกหลายสาเหตุดังนี้ ที่มักทำให้เกิดเป็นสิวฮอร์โมนขึ้นมาได้เช่น

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างราวเร็วเช่นอยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ หรือการเป็นประจำเดือน ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดสิวฮอร์โมนนั่นเอง

ปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจน

การที่ร่างการมี Androgen เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลทำให้ต่อมไขมันมีการทำงานผิดปกติ และผลิตซีรัม(Sebum) ออกมาเป็นจำนวนมาก จนทำให้มีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียจนกลายเป็นสิวในที่สุด

ภาวะความเครียด

ความเครียดและการพักผ่อนที่ไม่เพียงพออาจจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายให้มีการเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดเป็นสิวขึ้นในที่สุด

พันธุกรรม

สิวก็เป็นสิ่งที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ หากพบว่าบุคคลในครอบครัวเป็นสิวง่าย หรือเป็นสิวมาก สมาชิกในครอบครัวเสี่ยงที่จะเกิดสิวฮอร์โมนได้ง่าย

สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมต่างๆและพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เป็นสิวได้ เช่นการทำสะอาผิวไม่ดีพอทำให้มีสิ่งสกปรกตกค้างบนผิว และการรับประทานอาหารพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันเป็นประจำ

สิวฮอร์โมน มีลักษณะเป็นอย่างไร ?

สิวอุดตัน

เป็นสิวที่ไม่อักเสบอีกประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นสิวหัวนูนออกมาจากผิวหนัง จะรู้สึกถึงความไม่เรียบ มีการอุดตันของรูขุมขนบนผิวหนัง บางครั้งสิ่งอุดตันเรียกกันว่าหัวสิว ก็โผล่ออกมาให้เห็นได้จากภายนอกเช่นกัน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ทำความรู้จักกับสาเหตุของ สิวอุดตัน เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาและป้องกันได้หรือไม่

สิวอุดตัวหัวเปิด สิวอุดตันหัวปิด

คือการอุดตันสะสมภายในท่อปิดของต่อมไขมันและรูขุมขน จนทำให้รูขุมขนอุดตัน เห็นเป็นตุ่มเล็กๆ สีขาว สิวอุดตันชนิดนี้ หากมีการอักเสบหรือติดเชื้อจะกลายเป็นสิวอักเสบได้ในที่สุด

สิวอักเสบ

คือการอุดตันบริเวณรูขุมขน ที่เกิดจากไขมัน หรือเซลล์ผิวที่ตาย และเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า C. Acnes จะไปกระตุ้นทำให้เกิดสิวอักเสบในที่สุด โดยแบคทีเรียมักพบบริเวณต่อมไขมัน สิวอักเสบไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการกดสิว หรือบีบสิวได้ อาจทำให้อาการอักเสบของสิวแย่ลงกว่าเดิม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : สิวอักเสบ คืออะไร ? พร้อมแนะนำวิธีดูแล และรักษาให้ได้ผลแบบธรรมชาติ

สิวตุ่มแดงใหญ่

คือ (Nodule) หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “สิวหัวช้าง สิวเป็นไต” เป็นอีกสิวอักเสบที่มีความรุนแรง การเกิด สิวหัวช้าง มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เข้าไปถึงชั้นผิวหนังที่ลึกขึ้น ทำให้กลายเป็นสิวหัวช้างที่มีการอักเสบรุนแรง และสามารถลุกลามให้เกิดการอักเสบได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหัวสิว

สิวฮอร์โมน ขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง?

  • สิวฮอร์โมนที่หลัง ทำให้หลังไม่เรียบเนียน ใส่เสื้อผ้าโชว์หลังไม่ได้
  • สิวฮอร์โมนหน้าผาก เกิดจากหน้าผากผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น บวกกับสิ่งสกปรกทีาตกค้างที่ผิว พบมากในคนที่ชอบไว้ผมหน้าม้า
  • สิวฮอร์โมนแก้ม ทำให้ใบหน้าดูไม่ชุ่มชื้นและไม่เรียบเนียน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก แต่งหน้าไม่ได้
  • สิวฮอร์โมนที่คาง ปัจจุบันสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการใช้ชีวิตประจำวันคือหน้ากากอนามัยหรือแมสก์ ซึ่งทำให้เกิดอปัญหานี้กวนใจได้ง่าย
  • สิวฮอร์โมนที่หน้าอก อีกหนึ่งจุดที่พบได้บ่อย ซึ่งจะทำให้รู้สึกเจ็บหรือคัน และหมดความมั่นใจไม่สามารถใส่เสื้อผ้าโชว์สัดส่วนบริเวณนี้ได้

ซึ่งเมื่อสิวฮอร์โมนหายแล้วก็มีโอกาสที่จะส่งผลทำให้เกิด รอยสิว เช่น มีรอยแดงและรอยดำตามมาได้ แนะนำเลเซอร์ Dual Yellow เลเซอร์อ่อนโยนแสงสีเหลืองและแสงสีเขียว เพื่อช่วยลดรอยดำ รอยแดง รวมถึงลดโอกาสการเกิดใหม่ของสิวได้อีกด้วย

สิวฮอร์โมน ในผู้หญิง และผู้ชาย แตกต่างกันหรือไม่?

สิวฮอร์โมน ในผู้หญิง และผู้ชาย แตกต่างกันหรือไม่

ทั้งผู้หญิงและผู้ชายสามารถเกิดสิวฮอร์โมนได้เหมือนกัน แต่การเกิดสิวฮอร์โมนของผู้หญิงและผู้ชายอาจมีความรุนแรงที่ไม่เท่ากัน และมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ใช้ระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากัน เช่น

สิวฮอร์โมนผู้หญิง

สิวฮอร์โมนผู้หญิง คือการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย สามารถเกิดได้ทั้งสิวอุดตันและสิวอักเสบ ช่วงที่ฮอร์โมนมักมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงรอบประจำเดือน ความเครียด ภาวะถุงน้ำในรังไข่ ฯลฯ จึงทำให้เกิดสิวฮอร์โมนขึ้นได้

สิวฮอร์โมนผู้ชาย

สิวฮอร์โมนผู้ชาย คือ คล้ายกับสิวปกติทั่วไปแต่ที่แตกต่างจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นประจำ เพราะภาวะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย จึงมักพบมากในวัยรุ่น ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อว่า แอนโดรเจน (Androgens) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น จนทำให้เกิดสิวฮอร์โมนขึ้นมาได้

สิวฮอร์โมนประจำเดือน มีลักษณะอย่างไร? กี่วันหาย?

สิวฮอร์โมนประจำเดือน มักมีลักษณะเป็นสิวอุดตันขนาดเล็ก ตรงกลางมีการฝังตัวของเคราติน(Keratin) และลิพิด(Lipid) จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) กับอากาศ จึงทำให้สีขาวเหลือง กลายเป็นสีเข้มหรือสีดำนั่นเอง สำหรับบางรายอาจจะใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ สิวฮอร์โมนประเภทนี้ก็สามารถยุบลงได้ แต่บางคนอาจจะต้องใช้เวลาถึง 2-3 สัปดาห์ จึงจะค่อยๆจางหายไปเอง

สิวฮอร์โมน มีแนวทางและวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

การรักษาสิวฮอร์โมนสามารถทำได้หลายวิธีทั้งแบบธรรมชาติ และทางการแพทย์ด้วยวิธีต่างๆดังนี้
รักษาสิวฮอร์โมนแบบธรรมชาติด้วยตัวเอง เป็นสิวฮอร์โมนใช้อะไรดี?

  • การรับประทานยา การทานยาเพื่อคุมสิวฮอร์โมนที่ไม่ใช่ยาคุม จะมีประสิทธิภาพที่ดีสามารถช่วยลดสิวได้ 50% – 100% ช่วยลดความมัน ลดโอกาสการปะทุของสิวอักเสบได้เป็นอย่างดี หลังจากการรักษาประมาณ 3 เดือนถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
  • การใช้กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids : AHAs) เป็นสารสกัดธรรมชาติที่ได้มาจากผลไม้ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีฤทธิ์ในการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และช่วยลดรอยแผลเป็นรวมถึงลดตุ่มสิวให้จางลงได้
  • ยาทาสิวเฉพาะที่ ตัวยาจะช่วยในเรื่องลดการอักเสบของสิว ควรทำการทดสอบกับผิวหนังก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ขัดผิวด้วยการสครับอย่างอ่อนโยน เพื่อช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป ไม่ให้เกิดการอุดตันตามรูขุมขน แต่ไม่ควรทำบ่อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน
  • รับประทานน้ำมันปลา เพราะเนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดการอักเสบ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวได้อย่างโดยตรง

รักษาสิวฮอร์โมน ด้วยการใช้ยา แบ่งเป็นการกินและการทายา

รักษาสิวฮอร์โมน ด้วยการใช้ยา แบ่งเป็นการกินและการทายา
  • ยากินรักษาสิวฮอร์โมน
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดสิวอักเสบ
  • ยาฮอร์โมนกลุ่มยาคุมกำเนิด เช่น Diane ใช้ในกรณีผู้ป่วยหญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายเด่น
  • ยากรดวิตามินเอ เช่น Roaccutane ยากลุ่มนี้ช่วยลดหน้ามัน ลดสิวอุดตัน และลดสิวอักเสบ
  • ยาทารักษาสิวฮอร์โมน
  • เบนซอยล์ เพอร์ออกไซด์ (benzoyl peroxide) เป็นตัวยาที่มี การออกฤทธิ์ทำให้หัวสิวหลุดออกได้เร็วขึ้น
  • กรดวิตามินเอ (retinoic acid) หรือ Tretinoin กรดวิตามินเอที่อยู่ในรูปแบบของยาทา จะช่วยขจัดปัญหาสิวอุดตันได้ดี
  • ยาทาสิว Azelaic ช่วยให้สิวอุดตันหลุดออกได้ง่าย และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนังได้อีกด้วย
  • ยาปฏิชีวนะ ได้แก่อีริโทรไมซิน คลินดาไมซิน จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียชื่อ P. acnes ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว

แนวรักษาสิวฮอร์โมน แบบเร่งด่วน ด้วยการเครื่องมือแพทย์

เมโสหน้าใส มาเด้คอลลาเจน

เมโสหน้าใส มาเด้คอลลาเจน คือสารบำรุง สารต้านอนุมูลอิสระ ที่สารสกัดจากวิตามินที่มีประโยชน์กับผิว เช่น วิตามินซี วิตามินบี( Sulphur D12) (Collagen D8) (Hyaluronidase D8) แร่ธาตุเอนไซม์ เซลล์บำบัดซ่อมแซมผิวหรือพลาเซนต้า (Placenta) เพื่อช่วยลดการอับเสบ และทำให้ผิวกระจ่างใสมากขึ้น

การฉายแสงฆ่า

ฉายแสงฆ่าเชื้อสิว คือเป็นการใช้แสงที่มีความยาวคลื่นในช่วงที่บริเวณดวงตาของคนเราสามารถมองเห็นได้ เช่น แสงสีฟ้าและแสงสีแดงมาใช้ในการรักษาสิว เพราะแสงสีฟ้าช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium Acne (P. Acne) ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดสิวหรือสิวอักเสบ และเป็นถุงหนองบริเวณรูขุมขน ถึงต่อมไขมัน ช่วยควบคุมความมันของผิวได้ ส่วนแสงสีแดงช่วยลดการอักเสบ ทำให้ต่อมไขมันเล็กและหดตัวลง ช่วยลดสิวอักเสบรวมถึงลดความมันบนผิวหน้า และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ดียิ่งขึ้น

เลเซอร์หน้าใส ด้วย Dual Yellow

เลเซอร์ Dual Yellow คือสาร Copper และ Bromide มีหน้าที่นำแสงเลเซอร์ ที่ผลิตออกมาถึง 2 ชนิดด้วยกัน คือ แสงสีเหลือง ความยาวคลื่น 578 นาโนเมตร และแสงสีเขียว ความยาวคลื่น 511 นาโนเมตร จะมีChromophore absorption ที่สามารถถูกดูดซับได้ดีและช่วยลดตุ่มสิวได้ทุกชนิดอีกด้วย

ใช้สารเคมีลอกผิว (Chemical Peel)

ใช้สารเคมีลอกผิว (Chemical Peel)

เป็นวิธีการใช้สารเคมีในในการลอกเซลล์ผิวชั้นนอกสุดเสมือนกับการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกเพื่อเป็นการลดการสะสมของแบคทีเรีย ไขมัน และเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว และนอกจากนั้นก็จะทำให้สิวที่อยู่ในผิวชั้นนอกเกิดการแห้งและยุบตัวลงไปในที่สุด โดยวิธีนี้ถูกนิยมใช้ในสตรีที่กำลังตั้งครรถ์เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถทำการรักษาสิวด้วยวิธีการอื่นๆ ได้

ฉีดยาสิว (Cortisone Injections)

เป็นการฉีดตัวยาสเตียรอยด์เข้าไปในเม็ดสิว เพื่อให้เม็ดสิวเกิดการแห้งและยุบตัวไวกว่าปกติ โดยวิธีนี้มักนิยมใช้ในผู้ที่ต้องการแก้ปัญสิวแบบเร่งด่วนสำหรับวันสำคัญอย่าง วันรับปริญญา วันแต่งงานเป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่นิยมให้ทำบ่อยๆ เพราะอาจก่อให้เกิดอาการดื้อยาได้ในอนาคต

วิธีป้องกันสิวฮอร์โมน

  • ควรหากิจกรรมที่ทำเป็นประจำเพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และลดความตึงเครียดสะสมได้อีกด้วย
  • ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อให้สุขภาพดูดีอยู่เสมอ
  • ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความอ่อนโยน ไม่เกิดการอุดตันตามรูขุมขน
  • ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของลาโนลิน (Lanolin) ,ซิลิโคน(Silicone) และน้ำมันแร่(Mineral Oil)เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวอับเสบขึ้นได้
  • ควรหาเวลาออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ
  • ควรทำความสะอาดใบหน้า และส่วนอื่นๆของร่างกาย วันละ 2 ครั้ง เพื่อความสะอาดหมดจด
  • ควรงดการบีบ กด จับ แคะ หรือสัมผัสสิวบริเวณนั้นโดยตรง

สิวฮอร์โมน หายเองได้หรือไม่?

สิวฮอร์โมน หายเองได้หรือไม่

สามารถหายเองได้ หากเป็นกลุ่มสิวที่ไม่รุนแรงแต่ส่วนใหญ่จะพบเจอกับปัญหาที่กวนใจ ไม่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการดูแลรักษาสิวฮอรโมนอย่างถูกวิธี จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง ด้วยการใช้ยารักษาในการรักษา และการทำเลเซอร์ เพื่อช่วยรักษาตุ่มสิวให้หายไปได้ไวขึ้นโดยไม่มีการทิ้งร่องรอย อีกทั่งยังช่วยให้ผิวหน้ากลับมากระจ่างใสได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย

สิวฮอร์โมน อันตรายหรือไม่? เป็นสัญญาณบอกโรคอันตรายรึเปล่า?

สิวฮอร์โมนอาจจะไม่เป็นอันตราย แต่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำให้กวนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้สิวฮอร์โมนยังเป็นสัญญาณยอกโรคต่างๆเช่น ภาวะเครียด, การตั้งครรภ์, เป็นประจำเดือน, พักผ่อนไม่เพียงพอ, มีภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) รวมถึงทานอาหารหวานและอาหารมันมากจนเกินไป แต่หากเลือกรักษาอย่างถูกวิธีก็สามารถกำจัดสิวฮอร์โมนหายขาดได้

สรุป

สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) เกิดจากการแปรปวนของระดับฮอร์โมนในร่างกาย มักมีการเปลี่ยนแปลง ในช่วงรอบประจำเดือน ความเครียด ซึ่งอาจมีอาการเป็นๆหายๆ และทิ้งรอยไว้หลังจากที่สิวมีการยุบตัว ดังนั้นหากใครที่ต้องรักษาสิวฉงฮอร์โมนให้หายขาดแนะนให้ เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านผิวหนังจึงให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้การดูแลตนเองควบคู่ไปกับการรักษาด้วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิวใหม่ได้ด้วยเช่นกัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง