รวม 12 วิธีลบรอยแผลเป็น บนใบหน้าและจุดต่างๆ รักษาด้วยวิธีได้ผลเร็วที่สุด

วิธีลบรอยแผลเป็น

รอยแผลเป็น ถือเป็นเรื่องซีเรียสของใครหลายๆคน เพราะอุปสรรคของผิวที่สวยงาม โดยเฉพาะรอยแผลเป็นที่อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน อย่างรอยแผลเป็นบนใบหน้า รอยแผลเป็นที่หัวไหล่ รอยแผลเป็นที่หลัง ซึ่งจำเป็นจะต้องหาเสื้อผ้ามาคอยปกปิดจนพลาดโอกาสในการแต่ตัว Sexy อย่างที่ต้องการได้ และยิ่งไปกว่านั้นรอยแผลเป็นบางชนิดนอกจากจะทำให้ผิวไม่สวยงามแล้ว ยังทำให้รู้สึกคันสร้างความรำคาญใจให้อีกด้วย

เนื่องจากรอยแผลเป็นมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีระดับความรุนแรงที่ต่างกัน วันนี้เราจึงจะมาแชร์การรักษาแผลเป็นด้วยวิธีต่างๆ รวมไปถึงการทำเลเซอร์ลบรอยแผลเป็น ว่าแต่ละวิธีมีประสิทธิภาพในการรักษาแผลเป็นได้จริงหรือไม่ ควรเลือกใช้การรักษารอยแผลเป็นด้วยวิธีไหน เพื่อทวงคืนความมั่นใจให้กลับมาอีกครั้ง

รอยแผลเป็น

รอยแผลเป็น เกิดจากอะไร?

รอยแผลเป็น (scar) เกิดจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งเมื่อเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับการบาดเจ็บ ก็จะมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ที่มีคอลลาเจนขึ้นมาทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป ซึ่งจะเป็นการรักษาแผลตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า natural wound ซึ่งเมื่อแผลหายดีขึ้นก็จะมีการทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ โดยแผลที่มักทำให้เกิดแผลรอยแผลเป็นขึ้นมาได้ก็คือ แผลเป็นจากอุบัติเหตุ ถูกของมีคมบาด รอยแผลจากการผ่าตัด แผลเป็นจากการปลูกฝี แผลไฟหรือรอยไหม้จากน้ำร้อนลวก และรอยแผลเป็นจากหลุดสิว เป็นต้น

รอยแผลเป็น มีกี่แบบ?

ประเภทของแผลเป็น

รอยแผลเป็นมีมากมายหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะสร้างปัญหา และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน เช่น
แผลเป็นทั่วไป แผลเป็นชนิดนี้เป็นรอยแผลเป็นที่ไม่มีความรุนแรง ส่วนมากจะเกิดมาจากการอักเสบของแผล และทำให้สีผิวมีสีคล้ำหรือดำกว่าสีผิวปกติในช่วงแรกเริ่ม แต่จะสีผิวจะสามารถจางลง และกลับมาเรียบเนียนจนมองเห็นได้ไม่คอยชัด เมื่อเวลาผ่านไป

แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar)

แผลเป็นที่มีสีแดง มีลักษณะเป็นรอยนูนขึ้นมาจากผิวหนังคล้ายปลิง แต่ยังอยู่ในขอบเขตตรงรอยแผลที่เกิดจากการบาดเจ็บ หรือการฉีกขาดจากแผลเดิมไม่มีการขยายของมานอกรอยแผล ซึ่งรอยแผลเป็นชนิดนี้มักเกิดจากการที่ร่างกายสร้างคอลลาเจนขึ้นมารักษาผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บมากจนเกินไป

รอยแตกลาย (Stretch Marks/Striae)

แผลเป็นลักษณะนี้จะมีสาเหตุเกิดมาจากการยืดตึงของผิวหนัง และมีการยุบตัวลงของชั้นผิวหนังแท้ (Dermis)อย่างรวดเร็ว (เหมือนการเป่าลูกโป่งให้ตึงแล้วปล่อยลมออกอย่างรวดเร็ว) ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันถูกทำลาย จนเกิดรอยแตกลายที่ผิว โดยมีสาเหตุหลักๆมาจาก ฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงของการเข้าสู่วัยรุ่น การตั้งครรภ์ และคนที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว

แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid)

คีลอยด์ คือรอยแผลเป็นที่มีลักษณะนูนและหนา มีสีแดง แต่รอยแผลชนิดนี้จะมีการขยายตัวกว้างมากขึ้นจนเข้าไปสู่เนื้อเยื่อรอบๆได้ ทำให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลเดิมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อบนชั้นผิวหนังที่ผลิตคอลลาเจนขึ้นมาเพื่อรักษาแผลมากเกินไป ซึ่งส่วนมากรอยแผลเป็นชนิดนี้มักเกิดขึ้นกับรอยแผลที่เนื้อเยื่อผิวมีความเสียหายมาก

แผลเป็นหลุม (Atrophic Scar)

เป็นรอยแผลที่มีลักษณะลึกลงไปจากผิวหนังเดิม แต่จะมีสีผิวที่ใกล้เคียงกับผิวเดิมตามปกติ ซึ่งรอยแผลเป็นชนิดนี้มักเกิดขึ้นกับรอยแผลที่มีอักเสบบนผิว แต่รักษาได้ไม่สมบูรณ์ทำให้ร่างการสร้างพังผืดขึ้นมาเกาะยึดผิวหนักเอาไว้กับเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิว โดยส่วนมากมักเป็นรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวขนาดใหญ่ เช่น สิวหัวช้าง หรือโรคอีสุกอีใส

แผลเป็นหดรั้ง (Scars Contractures)

รอยแผลเป็นชนิดนี้ถือเป็นรอยแผลเป็นที่มีความรุนแรงมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะความเป็นรอยแผลที่มีความผิดปกติ มักเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้างอย่างแผลไฟไหม้ โดยรอยแผลเป็นชนิดนี้จะดึงรั้ง หรือมีการหดตัวของแผลเป็นจนทำให้อวัยวะบริเวณแผลให้ผิดรูป พบมากกับรอยแผลที่อยู่บริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกาย

แผลจากการผ่าตัด (Surgical wound)

หลังจากการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเพื่อทำการรักษา หรือการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อความงามมักทิ้งรอยแผลเป็นเอาไปที่บริเวณผิวหนังเสมอ

แผลจากอุบัติเหตุ (Accident scars)

เป็นรอยแผลที่มักเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ มักเป็นรอยแผลที่ถูกบาดลึกไปจนทำให้เลือดออก เมื่อรักษารอยแผลหายแล้วผิวหนังก็อาจจะมีการเปลี่ยนเป็นสีที่คล้ำลง และเกิดรอยแผลเป็นในลักษณะที่ทำให้ผิวไม่เรียบเนียน ซึ่งการทำเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นเซลล์ผิว และลดเม็ดสีเมลานิลบนผิวเพื่อปรับให้สีผิวมีความสม่ำเสมอเรียบเนียนขึ้น รอยแผลจางลง

12 วิธีลบรอยแผลเป็น ที่ได้ผลจริง

ในปัจจุบันเรามีตัวช่วย และเทคโนโลยีในการลบรอยแผลเป็นหลายวิธี โดยแต่ละวิธีจะให้ผลลัพธ์และใช้ระยะเวลาในการรักษาที่แตกต่างกัน รวมถึงต้นทุนในการรักษาด้วย ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมวิธีลบรอยแผลเป็นที่ได้ผลจริงมาไว้ให้คุณดังนี้

1. ทาครีมลดรอยแผลเป็น

ทาครีมลบรอยแผลเป็น

การทาครีมเพื่อลดรอยแผลเป็น (Topical products) เป็นวิธีที่นิยมมาก เพราะในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป และมีวิธีการใช้ที่ง่ายและสะดวก อย่างเช่น ยาทาแผลเป็นที่มีส่วนผสมของกลุ่มวิตามินต่างๆ เช่น

  • วิตามินอี ซึ่งจะช่วยทำให้เซลล์ซ่อมแซมแผลได้เองอย่างสมบูรณ์ และสามารถช่วยเร่งให้รอยแผลเป็นให้ดูจางลงได้
  • วิตามินเอ, วิตามินบี 3 และ Allium cepa ที่ช่วยยับยั้งการอักเสบ
  • สาร Asiatic acid, Madecassic และ Asiaticoside ลดการสร้างคอลลาเจนบริเวณรอยแผล
  • สารมิวโคโพลีแซคคาไรด์ (MPS) ที่เพิ่มการไหลเวียนของเลือดตรงรอยแผลได้ดีขึ้น

แต่วิธีนี้อาจใช้เวลานานและจะต้องทาเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง (และรักษารอยแผลเป็นได้บางชนิดเท่านั้น) ทำให้แพทย์บางคนจะมีการแนะนำให้ใช้ควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่น ๆร่วมด้วย

2. เลเซอร์ลบรอยแผลเป็น

รักษารอยแผลด้วยเลเซอร์

การทำเลเซอร์ลบรอยแผลเป็น คือการใช้พลังงานลำแสงจากเครื่องเลเซอร์ เพื่อช่วยส่งผ่านไปยังชั้นผิวหนัง เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อตรงบริเวณรอยแผลเป็นที่เป็นรอยนูน เพื่อให้ผิวเรียบเนียนขึ้น โดยพลังงานจากแสงเลเซอร์จะเข้าไปกระตุ้นคอลลาเจน และเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวให้เกิดการซ่อมแซมในส่วนของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย ให้มีความแข็งแรงและสามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง โดยเครื่องเลเซอร์ที่มักถูกนำมาใช้ในการรักษารอยแผลเป็น ได้แก่

  • Picoway Laser ซึ่งเป็นเครื่องเลเซอร์ที่ให้พลังงาน Picosecond สูงที่สุดในขณะนี้ ด้วยเทคโนโลยี Holographic Fractional Handpiece ให้พลังงานที่สม่ำเสมอและเสถียรโดยการปล่อยพลังงานออกมาเป็นจุดเล็กๆจำนวน 100 จุดในพื้นที 6×6 ตารางมิลลิเมตร โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้รอยแผลเป็นดูจางลงได้อย่างรวดเร็ว
  • Discovery Pico เป็นอีกหนึ่งเครื่องเลเซอร์ที่ใช้พลังงาน Picosecond จุดเด่นของเครื่องนี้คือช่วยกำจัดเม็ดสีในชั้นผิวได้ดีมากๆ จึงเหมาะมากกับการช่วยเลเซอร์ลบรอยแตกลาย รอยดำสิว รอยดำจากแผลต่างๆ รวมไปถึงรอยสักสีต่างๆ ได้ดีเช่นกัน
  • Q-Switch Laser เป็นอีกเครื่องที่เด่นในเรื่องของการช่วยลบรอยแผลเป็นต่างๆ ได้ดี แต่ด้วยความที่ค่าพลังงานของเครื่องนี้มีน้อยกว่าเครื่องตระกูล Pico Laser ทำให้จะเห็นผลได้ช้ากว่า จะต้องทำหลายครั้งมากกว่าแต่ก็มีราคาที่ถูกกว่าด้วยเช่นกัน

3. สักทับรอยแผลเป็น

การสักสีทับบนรอยแผลเป็น เป็นวิธีที่มักใช้ในกรณีกลุ่มรอยแผลเป็นที่มีลักษณะการเปลี่ยนสีผิวไปจากเดิมอย่างชัดเจน เช่น รอยแผลมีสีเข้มกว่าหรืออ่อนกว่าสีผิวเดิมจากปกติ โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการสักลายทับลงบนผิว หรืออาจต้องใช้วิธีการสักสีที่ใกล้เคียงให้เข้ากับรอยแผลเป็น เพื่อให้แผลเป็นมีสีใกล้เคียงกับผิวหนังเดิมมากที่สุด เพื่อกลบรอยแผลเป็นให้ผิวดูเรียบเนียน แต่การสักทับบริเวณที่มีรอยแผลเป็นอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าผิวหนังบริเวณทั่วไป เนื่องจากเป็นผิวหนังที่บางและไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ

4. การฉายรังสี

การฉายรังสี เป็นการใช้รังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity Modulated Radiation Therapy) โดยใช้พลังงานจากรังสีเพื่อทำการรักษารอยแผลเป็น และป้องกันไม่ให้ริยแผลเป็นเกิดเป็นรอยนูนมากขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่ใช้วิธีที่จะรักษารอยแผลเป็นได้แบบ 100% เพียงแต่จะทำให้ดีขึ้นในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเมื่อทำกายฉายรังสีแบบต่อเนื่อง จะทำให้รอยแผลเป็นนั้นดูจางลง ผิวหนังอาจจะได้รับผลข้างเคียงจากการฉายรังสีได้ เช่น มีอาการผิวหนังร้อนแดง ผิวหนังคล้ำขึ้นจากการมีสารสีจับผิวหนัง และผิวหนังแห้งเป็นขุย ในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังการฉายรังสีนั่นเอง

5. ลอกผิวด้วยกรดจากผลไม้

การลอกผิวด้วยกรดจากผลไม้ (Chemical Peeling) เป็นการรักษาที่เหมาะกับรอยแผลเป็นแบบตื้นๆมาก ๆ บนชั้นหนังกำพร้า โดยการใช้กรดผลไม้ที่เป็นกรด AHA เข้มข้น 50-70% เพื่อช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่าบนผิวชั้นบนให้หลุดลอกได้อย่างรวดเร็ว โดยวิธีนี้จะนิยมทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และทำติดกัน 4 สัปดาห์ ซึ่งในบางกรณีอาจจะสามารถขจัดได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดที่ใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และรอยแผลเป็นของแต่ละบุคคลร่วมด้วย เพราะหากใช้ความเข้มข้นมากเกินไป จะทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง และผิวไวต่อแสได้

6. ผ่าตัดแผลเป็น

การผ่าตัด (scar surgery) เป็นการช่วยจัดตำแหน่งในร่องรอยของแผลเป็นให้ดูดีขึ้นได้ โดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการผ่าตัดรอยแผลเป็นนี้จะทำการกรีดผ่าตัดเพื่อเอารอยแผลเก่าออก จากนั้นก็จะเย็บแผลใหม่อีกครั้ง แต่วิธีแบบนี้อาจจะใช้ได้ผลกับรอยแผลเป็นบางชนิดเท่านั้น และต้องพิจารณาถึงขนาดของรอยแผลเป็นอีกด้วย เนื่องจากการผ่าตัดรักษารอยแผลเป็นจะไม่เหมาะกับรอยแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่ และวิธีนี้จะสามารถทำได้กับการรักษากับรอยแผลเป็นที่สมบูรณ์เต็มที่แล้วเท่านั้น และไม่สามารถใช่กับแผลเป็นที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้องหัตถการโดยศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าวิธีอื่น และทุกๆครั้งที่มีการผ่าตัดก็อาจเสี่ยงการเกิดแผลเป็นใหม่ขึ้นมาทดแทนที่รอยแผลเป็นเดิมได้อีกด้วย

7. ฉีดฟิลเลอร์รอยแผลเป็น

การฉีดสารเติมเต็มเพื่อรักษารอยแผลเป็น จะใช้ในกรณีที่มีรอยแผลเป็นแบบหลุม ที่ผิวหนังมีการยุบตัวลงไป ซึ่งแพทย์จะมีการทำหัตถการ ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) หรือ สารเติมเต็มชนิด Hyaluronic acid (HA) ซึงเป็นสารเติมเต็มที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อเข้าไปช่วยให้รอยแผลเป็นดูเต็มขึ้น แต่การเลือกวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์อย่างเต็มที่ประมาณ 6-8 เดือน แล้วต้องมากลับมาฉีดเติมใหม่อย่างต่อเนื่อง เพราะสารเติมเต็มชนิดนี้จะสามารถสลายไปได้เองโดยไม่ตกค้างบนผิว

8. ผลัดผิวด้วยเครื่อง M.D. หรือ Microdermabrasion

เป็นการผลัดผิว หรือกรอผิวหนังชั้นบนในส่วนของหนังกำพร้าออกไปบางส่วนเพื่อกินการรักษารอยแผลเป็น แต่ไม่ได้กรอลึกถึงระดับที่จะทำให้เกิดแผลด้วยเกล็ดอัญมณี หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า (Microdermabrasion: MD) ไมโครเดอร์มาเบรชัน ซึ่งเป็นการใช้เกล็ดอัญมณี เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วในชั้นผิวหนังกำพร้า (Epidermis) ให้หลุดออกด้วยง่ายดาย เป็นการทำงานในระบบสุญญากาศ โดยเกล็ดอัญมณีนั้นจะเป็นผลึกอลูมิเนียมออกไซด์ (aluminum oxide) ซึ่งจะมีขนาดเล็กประมาณ 100 micron เท่านั้น จึงเป็นการผลัดเซลล์ผิวได้อย่างอ่อนโยน เหมาะกับคนที่มีแผลเป็นหลุมสิว หรือ รอยแผลเป็นที่ตื้นๆ นอกจากนี้การผลัดผิวด้วย MD ยังสามารถควบคุมได้ทุกระดับความลึกให้เหมาะสมกับกับลักษณะของรอยแผลเป็น เป็นการทำให้เซลล์ผิวฟื้นฟูและกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่สามารถรักษารอยแผลเป็นที่มีความลึก รอแผลเป็นหดรั้ง และรอยแผลเป็นคีลอยด์ได้

9. ไอพีแอล (Intense pulse light)

เป็นการใช้พลังงานคลื่นแสงชนิดที่มีความยาวคลื่นเริ่มตั้งแต่ 420 นาโนเมตร ถึง 1,200 นาโนเมตร ซึ่งมีความเชื่อว่าจะสามารถช่วยฟื้นฟูสภาพผิว และรักษาเนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดให้เกิดการจัดระเบียนเรียงตัวขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะช่วยทำให้รอยแผลเป็นมีขนาดเล็กลง กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินใต้ผิวหนัง เพื่อให้รอยแผลเป็นมีสีจางลง และผิวแลดูเนียนใสขึ้น แต่อาจจะต้องทำการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน และในขณะทำอาจรู้สึกเจ็บหรือแสบร้อนในบริเวณที่ทำการรักษาได้ เนื่องจาก IPL เป็นเครื่องที่ค่อนข้างมีการสระสมความร้อน

10. Cryotherapy

เป็นการใช้ความเย็น (coolness )หรือ ไนโตรเจนเหลว (Cryotherapy)ในการรักษารอยแผลเป็น โดยการใช้เครื่องที่สามารถทำความเย็นได้แบบเร่งด่วน จี้ลงไปยังบริเวณรอยแผลเป็น เพื่อช่วยให้เกิดภาวะถุงน้ำและเกิดการแตกสลายไป ซึ่งเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่พบว่าสามารถช่วยลดขนาดของรอยแผลเป็นบางประเภทลงได้บ้าง โดยเฉพาะรอยแผลเป็นที่มีลักษณะนูน ดังนั้นวิธีนี้จึงได้รับความนิยมในการรักษารอยแผลเป็นแบบนูน เพราะให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่ารอยแผลเป็นชนิดอื่นๆ

11. Pressure therapy

เป็นการใช้แรงกดจาก (Pressure therapy) ที่เป็นวิธีการรักษารอยแผลเป็นด้วยการกด เพื่อให้รอยแผลเป็นมีขนาดแบนลงเท่านั้น ซึ่งเป็นการรักษารอยแผลแบบเก่าแก่ ซึ่งจะต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง ใช้จำนวนครั้งบ่อยๆ และใช้ระยะเวลาในการรักษานานหลายๆเดือน เพื่อให้ผิวบริเวณที่เกิดรอยแผลเป็นที่แข็ง เกิดการอ่อนนุ่มและเรียบเนียนขึ้น ซึ่งสามารถรักษาร่วมกับวิธีแบบอื่นๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม

12. ฉีดยาสเตียรอยด์

การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Intra lesional corticosteroid) เป็นการฉีดสารสเตียรอยด์เข้าในก้อนแผลเป็น เพื่อให้ตัวยาทำปฏิกิริยาให้แผลเป็นนิ่มลง และลดความนูนของแผล ช่วยให้รอยแผลเป็นนั้นนุ่มขึ้น ,แบนราบลงได้ ซึ่งการฉีดทุกครั้งควรอยู่ในความดูแลของศัลยแพทย์ เพื่อฉีดยาสเตียรอยด์นี้ตรงจุด และใช้ปริมาณยาที่เหมาะสมกับขนาดของรอยแผลเป็น โดยเว้นระยะห่างกันประมาณเดือนละ 1 ครั้ง หรือจนกว่ารอยแผลเป็นจะแบนราบลง ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถให้ผลลัพธ์พอใช้

การดูแลรักษารอยแผลเป็นด้วยตัวเอง ให้แผลหายเร็วขึ้น?

การดูแลรอยแผลเป็นให้หายเร็ว
  • งดแกะ แคะ เกาแผล เพราะนอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบ ติดเชื้อของแผลแล้วยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็นอีกด้วย
  • ทาครีมลดรอยแผล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • ดูแลแผลให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอด เนื่องจากแผลที่แห้งตึงจะมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นได้มากกว่า
  • ควรเลือกทานโปรตีน เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย ทำให้แผลสมานเร็วและหายเร็วขึ้น
  • ควรเลือกทานวิตามินซี เพื่อช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อโปรตีนที่สำคัญ จึงทำให้แผลสมานเร็วขึ้น
  • ควรเลือกทานอาหารเสริมกลุ่มธาตุเหล็กและสังกะสี เพราะธาตุเหล็กคอยส่งออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณบาดแผล ทำให้แผลสมานกันได้ง่ายขึ้น ส่วน สังกะสี จะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่มีหน้าที่ผลิตเซลล์ผิวใหม่ แถมยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนมาช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อผิวหนังได้
  • ควรเลือกทาน Vitamin B3 ที่จะช่วยให้รอยแผลเป็นสีคล้ำจางลง หรือ CPX ที่มีคุณสมบัติช่วยให้ความนูนของแผลเป็นลดลง
  • ควรหลีกเลี่ยงการแคะ แกะ หรือเกาแผล เชื้อโรคที่มือและเล็บก็อาจทำให้แผลอักเสบกว่าเดิม

รีวิวการรักษารอยแผลเป็น ที่กังนัมคลินิก

รีวิวลบรอยแผลเป็นนูน
ลบรอยแผลเป็นด้วยเลเซอร์

สรุป

ถึงแม้ว่าการลบรอยแผลเป็นจะทำได้หลายวิธี แต่ก็จำเป็นมากๆที่จะต้องเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม เพื่อให้การลบรอยแผลเป็นมีประสิทธิภาพ และรอยแผลเป็นจางลงแต่เพื่อให้ผลการรักษาที่ดี และการทำเลเซอร์รอยแผลเป็นก็ถือเป็นการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ชัดเจน แต่หากใครที่ยังไม่มั่นใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง